Call us: 02-3282110 | E-mail: training@trainerinthai.com

Productivity

จิตสำนึกในระบบคุณภาพ

หลักการและเหตุผล ปัจจุบันการแข่งขันในธุรกิจอุตสาหกรรมนั้น นอกเหนือจากด้านการตลาดที่มีการแข่งขันอย่างต่อเนื่องและเข้มข้นแล้ว ในเรื่องของระบบคุณภาพถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ในหลาย ๆ องค์กรมีการนำระบบคุณภาพมาใช้ในธุรกิจ แต่สิ่งสำคัญที่จะทำให้องค์กรได้รับประโยชน์จากระบบคุณภาพต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในองค์กรได้นั้น ส่วนหนึ่งต้องมาจากจิตสำนึกของบุคลากรที่อยู่ในองค์กรนั้น ๆ ด้วย ดังนั้นหลักสูตร “จิตสำนึกด้านคุณภาพเบื้องต้น” จึงเป็นหลักสูตรหนึ่งที่จะให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องของคุณภาพ รวมถึงอธิบายความแตกต่างระหว่าง “การประกันคุณภาพ” กับ “การควบคุมคุณภาพ” ว่าเป็นอย่างไร ตลอดจนช่วยเสริมสร้างจิตสำนึกด้านคุณภาพให้กับบุคลากรภายในองค์กรในเบื้องต้น เพื่อที่จะพัฒนาไปสู่ระบบคุณภาพในระดับต่อ ๆ ไป วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้เกี่ยวกับคำว่า “คุณภาพ” และประโยชน์ของคุณภาพความแตกต่าง ระหว่างการตรวจสอบคุณภาพ (QC) กับการประกันคุณภาพ (QA) 2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณภาพ 3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดความตระหนักถึงการพัฒนาคุณภาพ หัวข้อในการฝึกอบรม 1. ความหมายของคุณภาพ 2. ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณภาพ 3. การควบคุมคุณภาพคืออะไร 4. การประกันคุณภาพคืออะไร 5. ความแตกต่างระหว่าง Q.C. และ Q.A. 6. พัฒนาการของคำว่า […]

Read more

การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง (KAIZEN)

หลักการและเหตุผล องค์กรของท่านยังทำงานที่เหนื่อยหนัก แต่ได้ผลงานไม่คุ้มค่า มีการยึดติดกับวิธีการทำงานแบบเดิม ๆ โดยไม่คิดปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและอบรมพัฒนาพนักงาน หากเป็นเช่นนั่นแสดงว่าในองค์กรของท่านไม่รู้จัก “ไคเซ็น” และไม่ได้นำไคเซ็นมาเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานในองค์กร ซึ่งหากองค์กรได้นำเอาวิธีการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องมาใช้แล้วปัญหาในการทำงานจะเกิดความผิดพลาดน้อยลง ดังนั้น หลักสูตร “การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง (KAIZEN)” จึงเป็นเหมือนเข็มทิศชี้ให้องค์กรเห็นถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหา พร้อมข้อเสนอแนะในการปรับปรุงงาน เพื่อหยุด ลด และเปลี่ยนแปลง วิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด เพราะไคเซ็นจะบอกให้ท่านรู้ว่ายังคงมี “เรื่องที่ควรทำแต่ยังไม่ได้ทำ” อยู่อีกมากในกระบวนการทำงานในองค์กรของท่าน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจ ถึงแนวคิดและความเป็นมาของกิจกรรมข้อเสนอแนะของวิธีการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง 2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงแนวทางและขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรมข้อเสนอแนะในการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง 3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเกิดการพัฒนาและแก้ไขปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างถูกวิธีและ ทราบถึงอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง หัวข้อวิชาในการสัมมนา 1. ไคเซ็นคืออะไร วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงความสำคัญและความหมายของวิธีการ ปรับปรุงงานแบบไคเซ็น 2. หลักการและข้อเสนอแนะเบื้องต้นของไคเซ็นในการปรับปรุงงาน วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงหลักการเบื้องต้นในการนำไคเซ็น มาใช้ในองค์กรรวมถึงข้อเสนอแนะวิธีการปรับปรุงงาน 3. ขั้นตอนและเครื่องมือในการปรับปรุงงาน วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าถึงขั้นตอนในการปรับปรุงงานและเครื่อง มือที่ก่อให้เกิดการปรับปรุงงานแบบไคเซ็น 4. เทคนิคในการมองปัญหา วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รู้ถึงสาเหตุของปัญหาในการจัดทำ การปรับปรุงงานและสามารถวิเคราะห์ปัญหา พร้อมหา แนวทางในการแก้ไขที่เกิดขึ้นได้ตรงจุด […]

Read more

ความรู้พื้นฐานกิจกรรมกลุ่ม QCC

หลักการและเหตุผล ในแต่ละหน่วยงานในองค์กรเน้นคุณภาพในการทำงาน กิจกรรมกลุ่ม QCC. เป็นกิจกรรมกลุ่มที่ช่วยให้มีการทำงานร่วมกัน การแก้ปัญหาและปรับปรุงงานร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพในการทำงาน ดังนั้นหลักสูตร “ความรู้พื้นฐานกิจกรรมกลุ่ม QCC.” จึงเป็นหลักสูตรที่ช่วยให้ความรู้พื้นฐานด้านกิจกรรมกลุ่ม QCC. โดยจะอธิบายเกี่ยวกับหลักการและวิธีการ การบริหารกลุ่ม QCC. เพื่อการปรับปรุงงานและองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เข้าใจอุดมการณ์ และวิธีการของกลุ่ม QCC. 2. ให้ตระหนักในความจำเป็นของสถานการณ์ที่จะส่งเสริม QCC. ในองค์กร 3. ให้มีความรู้ในหลักพฤติกรรมศาสตร์,หลักสถิติและทักษะต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินงานกลุ่ม QCC. 4. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดเทคนิคและวิธีการในการปรับปรุงคุณภาพ โดยใช้เทคนิคของ QCC. 5. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้มีความพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ หัวข้อในการฝึกอบรม 1. ประวัติความเป็นมาและความหมายของกลุ่ม QCC. 2. อุดมการณ์ หลักการและวิธีการของกลุ่ม QCC. 3. หลักสถิติที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC. 4. วิธีการและขั้นตอนในการรับ QCC. ไปปฎิบัติ 5. นโยบาย กฎเกณฑ์และหลักปฎิบัติในการดำเนินงานกลุ่ม QCC. 6. การจัดโครงสร้างและการบริหารกลุ่ม […]

Read more

การบริหารกิจกรรมกลุ่ม QCC

หลักการและเหตุผล ปัจจุบันภาวะแข่งขันด้านสินค้า บริการ มีการแข่งขันอย่างรุนแรง ทำ ให้องค์กรต่างๆต้องเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เทคนิคทางการบริหารการจัดการ ในเรื่องการบริหารกิจกรรมกลุ่ม QCC (Quality Control Circle) จึงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่มีส่วนช่วยการบริหาร การปรับปรุงองค์กรให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น สิ่งที่สำคัญมากในการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC คือ QCC Facilitator ซึ่งมีหน้าที่ในการบริหารกิจกรรม QCC ให้คงอยู่และพัฒนาการดำเนินงานขององค์กรอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น QCC Facilitator จำเป็นต้องทราบแนวทางหลักการต่างๆเพื่อใช้ในการบริหารกิจกรรม QCC รวมทั้งต้องทราบเทคนิคเครื่องมือ QC อื่น ที่จำเป็นเพื่อที่จะสามารถบริหาร QCC ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อลูกค้า ซึ่งเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดขององค์กร หัวข้อการอบรม : • บทบาทและหน้าที่ของ QCC Facilitator • ประเด็นสำคัญในแต่ละขั้นตอนของ การทำกิจกรรม QCC (Quality Control circle) • ความเข้าใจและประยุกต์ใช้เครื่องมือ 7 QC Tools 1.Check Sheet […]

Read more

การทำ KAIZEN ในงานสำนักงาน

Kaizen เป็นกิจกรรมปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง และเกิดประโยชน์อย่างระยะยาวหากได้ทำ Kaizen วัฒนธรรมองค์กร ด้วยการปลูกฝังให้พนักงานมีความรู้ ความเข้าใจ และการตระหนักถึงผลดี ที่จะเกิดความสะดวกสบายในการทำงานของตนเอง การทำความเข้าใจเพียงผิวเผิน และไม่ได้ลงมือ Kaizen อย่างถูกต้อง มุ่งจะให้เกิดผลยิ่งใหญ่ในการทำKaizen เพียงครั้งเดียว ย่อมเป็นไปได้ยาก การเรียนรู้กิจกรรม Kaizen ซึ่งต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องตั้งแต่ต้นและนำไปปฏิบัติจริง จึงจะเกิดผลวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงงานที่ให้ผลคุ้มค้า เป็นการลดต้นทุนหลายด้าน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้เข้าใจกิจกรรม Kaizen อย่างถ่องแท้ 2. เพื่อให้ตระหนักรู้ถึงความสำคัญและประโยชน์ของ Kaizen 3. เพื่อให้เข้าใจความแตกต่างระหว่าง Kaizen กับ Suggestion System 4. เพื่อให้สามารถทำ Kaizen ในงานสำนักงาน วิธีการฝึกอบรม – ทำ Pre –Test และ Post – Test – ทำแบบทำสอบความเข้าใจ Kaizen – อธิบายหลักการ วิธีการ การอภิปราย […]

Read more

Kaizen. (กิจกรรมข้อเสนอแนะ)

หลักการ และเหตุผล หลักสูตรนี้เน้นให้ พนักงานทุกคนในบริษัท สามารถเสนอแนะแนวคิด เพื่อปรับปรุง และพัฒนา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ของตนเอง และหน่วยงาน โดยการเสนอวิธีการใหม่ ๆ ได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังสามารถนำแนวคิด ไปประยุกต์ใช้ในการเพิ่มผลผลิต (Productivity) และกิจกรรมไคเซน (Kaizen) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ให้กับหน่วยงานได้อีกด้วย วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้เข้าใจถึงนโยบายการเสนอแนะ (Suggestion) เพื่อการปรับปรุง 2. เพื่อให้เข้าใจถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง 3. เพื่อให้เข้าใจถึงความหมายของกิจกรรมการเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง 4. เพื่อให้ที่สามารถเขียนข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงได้ 5. เพื่อให้เข้าใจถึงโครงสร้างขององค์กร ขั้นตอนการดําเนินการ และหลักเกณฑ์ในการ พิจารณารางวัล วิธีการฝึกอบรม – ทำ Pre –Test และ Post – Test – ทำแบบทำสอบความเข้าใจ Kaizen – อธิบายหลักการ วิธีการ การอภิปราย ถาม-ตอบ […]

Read more

WHY- WHY ANALYSIS

หลักการและเหตุผล ในยุคที่การแข่งขันทางด้านธุรกิจที่รุนแรงดังเช่นในปัจจุบัน ทุกคนคงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้นั้นคือ ความสามารถที่จะผลิตสินค้าที่มีต้นทุนต่ำกว่าและมีคุณภาพที่ดีกว่าคู่แข่งขันได้ นอกจากนี้ยังต้องสามารถส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าได้ทันตามกำหนดเวลา แต่สิ่งเหล่านี้จะเป็นไปไม่ได้เลย ถ้าความสูญเสียมากมายยังคงมีอยู่ในกระบวนการผลิต เนื่องจาก TPM เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นขจัดความสูญเสียเหล่านี้ให้หมดไปโดยสิ้นเชิง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การทำให้เป็นศูนย์ ดังนั้นในปัจจุบันนี้จึงมีหลายบริษัทที่ได้เริ่มนำเอากิจกรรม TPM นี้เข้าไปดำเนินการแต่สิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการขจัดความสูญเสียต่างๆ ให้เป็นศูนย์ได้นั้น คือ การสร้างบุคลากรที่มีความสามารถในการวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง (ฆาตกรตัวจริง) ของปัญหาได้ ดังนั้น เครื่องมือหนึ่งที่สำคัญและเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ในการวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาได้อย่างครบถ้วนนั้น คือ Why-Why Analysis วัตถุประสงค์ ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำเทคนิควิธีการของ Why- Why Analysis ไปวิเคราะห์เพื่อค้นหาต้นตอ ที่เป็นสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา หัวข้อวิชาการอบรม 1. โครงสร้างของความสูญเสียและการสำรวจความสูญเสีย 2. แนวทางในการแก้ปัญหาความสูญเสีย 3. Why- Why Analysis คืออะไร 4. สิ่งที่ต้องทำก่อนจะทำการวิเคราะห์ : หลักการ 5 G 5. วิธีการมองปัญหาของ Why- Why Analysis 6. […]

Read more

QCC Workshop

หลักการและเหตุผล Qcc เป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาทักษะความรู้การทำงานของพนักงานทุกระดับ ให้มีความรู้ความสามารถในเรื่อง การพัฒนาคน พัฒนางาน พัฒนาทีมงาน โดยมุ่งเน้นให้ทุกคนสามารถตระหนักและเห็นความสำคัญในเรื่องของคุณภาพเป็นสำคัญและต้องจัดการกับสิ่งที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานของคุณภาพด้วยตัวของพนักงานเองและต่อเนื่อง นอกจากนั้นยังช่วยพัฒนาทักษะของความเป็นผู้นำของพนักงาน และให้พนักงานได้แสดงความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เป็นต้น ซึ่ง กิจกรรมดังกล่าวจะช่วยให้บริษัทสามารถเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับตลาดได้อย่างยั่งยืนและ มั่นคง ดังนั้นทุกหน่วยงานต้องให้ความสำคัญและเอาจริงเอาจังกับเรื่องของการทำ Qcc อย่างต่อเนื่องและต้องให้เวลาค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องนั่นเอง วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนาเข้าใจหลักการ/ขั้นตอน/เป้าหมาย/เครื่องมือ/ความสำคัญของ Qcc 2. เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนาเกิดทักษะบางส่วนการทำภาคปฏิบัติ 3. เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำ Qcc ของหน่วยงานได้ หัวข้อวิชาการอบรม 1. แนวคิดและความสำคัญของ QCC  ความหมายของ QCC  เป้าหมาย ของ QCC  หลักการพื้นฐานของ QCC  องค์ประกอบของ QCC 2. ขั้นตอนของ QC Story 3. เทคนิค/เครื่องมือที่ช่วยในการทำงานเป็นทีม 4. หัวข้อการนำเสนอ QCC […]

Read more

การควบคุมเครื่องมือวัดตามข้อกำหนด ISO 9001

หลักการและเหตุผล ISO 9000 : 2000 จะได้เริ่มมีการประกาศใช้แทน ฉบับปี 1994 นั้น ข้อกำหนดข้อ 7.6 เกี่ยวกับการควบคุมเครื่องมือวัด และเครื่องเฝ้าระวังในการตรวจสอบคุณลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ความสำคัญในการจัดการควบคุมเครื่องมือวัดให้เป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าว มีความจำเป็นที่หน่วยงานต่างๆ ที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน ISO 9001 : 2000 ควรมีความรู้และความสามารถเพื่อดำเนินการจัดการระบบตามข้อกำหนดดังกล่าวได้ จึงเห็นควรจัดให้มีการฝึกอบรม การควบคุมเครื่องมือ อุปกรณ์ เพื่อการตรวจวัดและทดสอบ ตามมาตรฐาน ISO 9000 วัตถุประสงค์ 1. มีความรู้และเข้าใจเหตุผล ความจำเป็นของการควบคุมเครื่องมือ อุปกรณ์ การตรวจวัดและทดสอบ 2. มีความสามารถในการนำความรู้ในเรื่อง การควบคุมเครื่องมือ อุปกรณ์ การตรวจ วัด และทดสอบ ไปใช้ในหน่วยงานได้อย่างถูกต้อง หัวข้อการสัมมนา 1. ข้อกำหนดใน ISO 9001 (เกี่ยวกับการ Calibration) 2. นิยามที่เกี่ยวข้องกับการวัด 3. ความสามารถสอบกลับได้ของการวัด 4. หลักการสอบเทียบเครื่องมือวัด 5. […]

Read more

การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์สำหรับหัวหน้า/ผู้บริหาร

หลักการและเหตุผล: การบริหารงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ของหน่วยงาน มักจะกระทำโดยทีมงาน ที่มีเป้าหมายร่วมกัน หัวหน้าทีม หรือตามตำแหน่ง จะเรียกว่า ผู้จัดการ หัวหน้างาน ใดๆ ก็ตาม ต่างมีความรู้ในสายงาน ที่ตนรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายปฏิบัติการ การตลาด บัญชี ขาย ผลิต ฯลฯ แต่ทักษะ หรือความรู้ที่จำเป็น ในการทำงาน ให้สำเร็จ คือการบริหารทรัพยากรบุคคล ในทีมงานของตน ซึ่งหัวหน้าทีมงาน อาจเข้าใจว่า เป็นความรับผิดชอบ โดยตรงของฝ่ายทรัพยากรบุคคล ทั้งที่บุคคลที่มีหน้าที่ ในการคัดเลือก อบรม ประเมินผล ให้คุณให้โทษ ล้วนแต่ต้องผ่าน ความเห็นชอบ หรือบางครั้ง เป็นอำนาจเต็มของผู้จัดการ ดังนั้นผู้จัดการ ในสายงาน จึงควรมีความเข้าใจ ในบทบาทที่สำคัญ ในการบริหารทรัพยากรบุคคล ในหน่วยงานของตน และ สามารถทำงาน ร่วมกับฝ่ายทรัพยากรบุคคล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด ของหน่วยงาน วัตถุประสงค์: 1. เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของหัวหน้างาน/ผู้บริหาร 2. […]

Read more

Top