Call us: 02-3282110 | E-mail: training@trainerinthai.com

Management

การตรวจติดตามคุณภาพภายในระบบคุณภาพ ISO 9001:2000

หลักการและเหตุผล การตรวจติดตามภายในระบบคุณภาพเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับองค์กรที่จัดทำระบบ ISO 9001:2000 ต้องทำการปฏิบัติเนื่องจากเป็นข้อกำหนดในมาตรฐานดังกล่าว ดังนั้นหลักสูตร “การตรวจติดตามภายในระบบ ISO 9001:2000” นี้จะเป็นหลักสูตรที่สอนให้ผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจติดตามภายในขององค์กรเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ ขั้นตอน วิธีการและการจัดทำบันทึกในการตรวจติดตามภายในทั้งสองระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามความต้องการของข้อกำหนด วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อให้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์, ขั้นตอนการตรวจติดตามคุณภาพภายใน และอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของ Internal Auditor 2. เพื่อให้สามารถวางแผนการตรวจติดตามคุณภาพภายในและสามารถจัดทำ Audit Check List ได้ 3. เพื่อให้เข้าใจถึงความไม่เป็นไปตามข้อกำหนด, สามารถออกเอกสาร Corrective Action Request (CAR) และสามารถจัดทำ Audit Report และ 4. เพื่อให้สามารถตรวจประเมินระบบบริหารคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื้อหาหลักสูตร : วันที่ 1 – ประเภทของการตรวจประเมินระบบคุณภาพและวัตถุประสงค์ของการตรวจ – คุณสมบัติอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของ Internal Auditor – ขั้นตอนการทำ Internal Audit – การวางแผน […]

Tags:

Read more

กลยุทธการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ (Strategic Systematic Problem Solving and Decision Making)

หลักการ และเหตุผล การตัดสินใจ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำรงค์ชีวิต เพราะถ้าหากตัดสินใจผิด ก็จะส่งผลร้ายตามมาอย่างมาก ตรงข้ามถ้าสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ก็จะทำให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราควรจะศึกษา และเรียนรู้กลยุทธการแก้ไขปัญหา และการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ (Strategic Systematic Problem Solving and Decision Making) เพื่อสร้างความมั่นใจ และลดปัญหาจากการปฏิบัติงานผิดพลาด วัตถุประสงค์ • เพื่อให้ทราบถึงวิธีการคิดและการวิเคราะห์ สามารถนำหลักการ ความรู้และประสบการณ์ไปพัฒนากระบวนการแก้ปัญหา การตัดสินใจ • สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆทั้งในปัจจุบันและอนาคตซึ่งจะมีผลกระทบต่อองค์กรและพิจารณาทางเลือกที่คิดว่าดีที่สุด ที่สามารถตอบสนองความต้องการได้ • นำความรู้กลับถ่ายทอดให้กับบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องได้ หัวข้อการบรรยาย 1. สาเหตุที่ทำให้เกิดการแก้ปัญหาและตัดสินใจ 2. การพิจารณาการวิเคราะห์สถานการณ์และวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา 3. กระบวนการแก้ไข และป้องกันปัญหา 4. การวิเคราะห์ศักยภาพของปัญหาและโอกาส 5. เทคนิคในการรวบรวมข้อมูล เพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุดในการตัดสินใจ 6. กระบวนการวางแผนเพื่อแก้ไข และป้องการป้องกันปัญหาอย่างเป็นระบบ 7. การคิดอย่างเป็นระบบ 8. การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ 9. […]

Tags: , , ,

Read more

การวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย (Why Why Analysis)

หลักการ และเหตุผล การแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด และการเกิดความผิดพลาดซ้ำซาก มีสาเหตุหนึ่งเกิดจากการวิเคราะห์ปัญหาไม่ตรงจุด ซึ่งทำให้การแก้ไขปัญหานั้นเสียเวลา และเสียค่าใช้จ่ายโดยเปล่าประโยชน์ การวิเคราะห์ด้วยการถาม ทำไม? ทำไม? หรือ Why Why Analysis จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยลดปัญหาดังกล่าว โดยจะช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว และตรงประเด็นมากที่สุด นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานอื่นๆ เพื่อทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ถ้าหากใครมีหลักการคิด วิเคราะห์แบบ Why Why Analysis ก็จะทำให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีความรวดเร็วในการทำงานอย่างมาก วัตถุประสงค์ • เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหา • เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการประยุกต์ใช้ เครื่องมือต่างๆ เช่น แผนภูมิต้นไม้ (Tree Diagram) การใช้แผนภูมิแกนท์ (Gantt Chart) และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อวิเคราะห์หาต้นตอของปัญหา • เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ และเทคนิคต่างๆ ไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานจริง ของตน หัวข้อการบรรยาย • หลักการวิเคราะห์ โดย Why Why Analysis […]

Tags: , ,

Read more

การเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ

หลักการ และเหตุผล วิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) กลยุทธ์ (Strategic) และเป้าหมาย (Target) ที่ผู้บริหารระดับสูงกำหนดไว้ ถือเป็นสิ่งที่ชี้วัดความสำเร็จของหน่วยงาน และผู้ปฏิบัติงาน โดยดัชนีชี้วัดผลงาน หรือ KPI (Key Performance Indicator) แต่ละหัวข้อต่อนำไปสู่การปฏิบัติจริง โดยการกำหนดแผนงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อจะทำให้การดำเนินงานนั้นบรรลุตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ได้วางไว้ การปฏิบัติงานไม่บรรลุเป้าหมายนั้น ปัญหาหลักเกิดจากการวางแผนการปฏิบัติงาน (Action Plan) ที่ขาดประสิทธิภาพ เช่น แผนงานไม่สามารถใช้งานได้จริง ขาดการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบในทุกรายละเอียดทั้งจากสภาพแวดล้อมภายใน และภายนอก การขาดความชัดเจนในการปฏิบัติงาน และการขาดผู้รับผิดชอบ เป็นต้น ซึ่งปัญหาดังกล่าว ส่งผลต่อความสำเร็จของหน่วยงาน และผู้ปฏิบัติงาน ด้วยเหตุนี้เองจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้กำหนด หรือผู้เขียนแผนการปฏิบัติงาน (Action Plan) ควรมีการกำหนดแผนการปฏิบัติงาน (Action Plan) นั้นให้ถูกต้อง สมบูรณ์ และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง เพื่อเป็นการประกันได้ว่าผลลัพธ์ที่จะตามมานั้นจะประสบความสำเร็จดังที่ได้ตั้งใจเอาไว้ ดังคำกล่าวที่ว่า “วางแผนดี เท่ากับประสบความสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง” วัตถุประสงค์ • เพื่อให้ทราบถึงภาพรวมของวิสัยทัศน์ […]

Tags: , , , ,

Read more

การนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)

หลักการ และเหตุผล KPI (Key Performance Indicators) หรือดัชนีชี้วัดผลงาน เป็นเครื่องมือหนึ่งที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการ เพื่อทำให้ทราบถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากงานที่ได้ปฏิบัติไป ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่พนักงานทุกคนในองค์การจะต้องมีความเข้าใจ และให้ความสำคัญกับ KPI เพราะถ้าหากเรามีความเข้าใจ และได้นำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม จะทำให้เกิดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลอย่างมาก วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับ KPI (Key Performance Indicators) 2. เพื่อสร้างความตระหนักถึงการปฏิบัติงานในปัจจุบัน และอนาคต 3. เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนด KPI ให้เหมาะสมกับหน่วยงาน 4. เพื่อใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปฏิบัติงานให้เหมาะสม และสอดคล้องกับการบริหารงานในปัจจุบัน 5. เพื่อยกระดับการปฏิบัติงานในปัจจุบันให้สุงขึ้น หัวข้อการบรรยาย 1. KPI ความหมาย ความสำคัญ และการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 2. การปรับเปลี่ยนแนวคิด (Mind Changing) เพื่อพิชิต KPI 3. แนวทางการกำหนด KPI ให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานปัจจุบัน 4. การเปลี่ยนแปลงการทำงาน […]

Read more

Top