Call us: 02-3282110 | E-mail: training@trainerinthai.com

Engineering

การใช้เทคนิควิศวกรรมอุตสาหการในการปรับปรุงสายการผลิต

หลักการและเหตุผล สายการผลิตที่ดีมีประสิทธิภาพจะช่วยให้ผลผลิตของโรงงานสูงขึ้น เป็นผลให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง สามารถรับคำสั่งซื้อจากลูกค้าได้มากขึ้น และส่งมอบผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามความต้องการของลูกค้าได้อย่างสม่ำเสมอ เทคนิคทางวิศวกรรมอุตสาหการเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะช่วยในการปรับปรุงสายการผลิตในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้และไม่เกิดค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นหลักสูตร “การใช้เทคนิควิศวกรรม อุตสาหการในการปรับปรุงสายการผลิต” จะเป็นหลักสูตรที่สอนให้ผู้บริหารระดับกลาง, วิศวกร และหัวหน้าหน่วยงาน สามารถนำเทคนิคทางวิศวกรรมอุตสาหการที่เหมาะสม เช่น การจัดสมดุลสายการผลิต และการศึกษาการทำงานไปปรับปรุงประสิทธิภาพสายการผลิตได้อย่างเป็นระบบ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ทราบถึงเทคนิควิศวกรรมอุตสาหการที่เหมาะสมในการปรับปรุงสายการผลิต 2. เพื่อให้สามารถจัดสมดุลสายการผลิตเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 3. เพื่อให้สามารถเข้าใจหลักการศึกษาการทำงานและปรับปรุงวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ หัวข้อวิชาการอบรม 1. แนะนำเทคนิควิศวกรรมอุตสาหการที่เหมาะสมในการปรับปรุงสายการผลิต วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงงานทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการและเทคนิคที่ใช้ในการ ปรับปรุงสายการผลิต 2. วิธีการจัดสมดุลสายการผลิต วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงวิธีการต่างในการจัดสมดุลสายการผลิตให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุดและนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง 3. การศึกษาการทำงาน (การศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลา) วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงเทคนิคและวิธีการศึกษาการทำงาน ตลอดจน หลักการปรับปรุงวิธีการทำงาน 2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงวิธีการหาเวลามาตรฐานของการทำงาน วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างแผนภูมิควบคุมเชิงผันแปรและแผนภูมิ ควบคุมเชิงคุณลักษณะ และนำมาใช้ในการควบคุมคุณภาพ ระยะเวลาการอบรม 1 วัน คุณสมบัติผู้เข้าอบรม ผู้จัดการ, หัวหน้าแผนก, วิศวกร, […]

Read more

การวิเคราะห์ระบบการวัด

หลักการและเหตุผล ในการวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ นอกจากการกำหนดจุดควบคุมต่าง ๆ แล้ว การเลือกระบบการวัดที่เหมาะสม เพื่อใช้พิสูจน์ถึงความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์ต่อก็เป็นสิ่งที่จำเป็น ดังนั้นผู้ที่ทำหน้าที่ในการวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ควรมีความเข้าใจในการเลือกระบบการวัดที่เหมาะสมต่อคุณสมบัตินั้น ๆ ของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการวัด ได้แก่ ชนิดของอุปกรณ์วัด ผู้ทำการวัด วิธีการวัด และสิ่งแวดล้อมในการวัด หลักสูตร “การวิเคราะห์ระบบการวัด” จะเป็นหลักสูตรที่สอนให้วิศวกรและหัวหน้างานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ และมีพื้นฐานทางด้านสถิติเบื้องต้น วัตถุประสงค์ 1. เข้าใจระบบการวัดและชนิดของระบบการวัด 2. การนำระบบการวัดไปใช้ในการวางแผนคุณภาพ 3. เข้าใจผลและความหมายที่ได้จากการศึกษา เนื้อหาหลักสูตร – ระบบการวัด และชนิดของระบบการวัด – คุณสมบัติเชิงสถิติของระบบการวัด – การเตรียมการศึกษาระบบการวัด – การวิเคราะห์คุณสมบัติด้าน Stability, Bias, Linearity – ชนิดของ Gauge R&R – การวิเคราะห์ Gauge R&R โดย วิธี Range – การวิเคราะห์ Gauge R&R โดย […]

Read more

Lean Manufacturing

หลักการและเหตุผล ในสภาวะปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจเป็นไปอย่างรุนแรง องค์กรใดที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูงก็จะสามารถอยู่รอดและเป็นผู้นำในธุรกิจได้ หลักสูตร “Lean Manufacturing” จะเป็นหลักสูตรที่สอนให้ผู้บริหาร, วิศวกร และหัวหน้างาน ทราบถึงหลักการของลีน , เครื่องมือสำหรับการผลิตแบบลีนด้านลดความสูญเปล่า , การไหลอย่างต่อเนื่อง , การดึงดูดจากลูกค้า , การตัดสินใจ ตลอดจนการผลิตแบบลีนในอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันขององค์กรให้สูงขึ้น วัตถุประสงค์ 1. ลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต 2. เพื่อสร้างคุณค่าเพิ่ม โดยการกำหนดคุณค่าของลูกค้าและ สายธารคุณค่าสำหรับแต่ละผลิตภัณฑ์ 3. อธิบายและวิเคราะห์ข้อได้เปรียบเชิงการแข่งขันซึ่งแนะนำและข้อปฏิบัติในการลดการออกแบบ ระบบขนส่งผลิตภัณฑ์ หัวข้อวิชาการอบรม1. ภาพรวมของการผลิตแบบลีน 2. กลยุทธ์สำหรับการผลิตแบบลีน 3. หลักการของลีน 4. แผนเส้นทางสู่การนำไปใช้ในการปรับปรุง 5. กรณีศึกษาการผลิตแบบลีน 6. เครื่องมือสำหรับการผลิตแบบลีนด้าน – ลดความสูญเปล่า , การไหลอย่างต่อเนื่อง – การดึงดูดจากลูกค้า , การตัดสินใจ 7. การผลิตแบบลีนในอุตสาหกรรม SMEs 8. ความสัมพันธ์ของการผลิตแบบลีนกับระบบอื่นๆ […]

Read more

วิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์การออกแบบเพื่อการประกอบ และ การผลิต

หลักการและเหตุผล วิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์ (Concurrent Engineering, CE) เป็นหนึ่งในปรัชญาที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งในทวีปยุโรป และสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสามารถช่วยให้กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ และมีต้นทุนต่ำ เนื่องจากวิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์ มีแนวทางในการทำงานอย่างเป็นระบบใน การรวบรวม การออกแบบและการผลิตในทุกส่วน โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์ได้พิจารณาการออกแบบตั้งแต่ เริ่มต้นไปสู่การควบคุมคุณภาพ และความต้องการอื่นๆไปจนถึงจนถึงการเก็บทิ้งเมื่อหมดอายุ สำหรับหลักสูตรนี้จะได้นำเสนอแนวทางสำคัญบางส่วนในวิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์ที่สามารถช่วยในการพัฒนาอุตสาหกรรมประเทศไทยได้เป็นอย่างดีได้แก่ 1.การออกแบบเพื่อการประกอบ (DFA) ที่สามารถช่วยลดชิ้นส่วนที่ต้องใช้ ในการประกอบเพื่อให้สามารถประกอบได้รวดเร็วสะดวกเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 2.การออกแบบเพื่อการผลิต (DFM) ที่เน้นถึงวิธีการในการวัดความสามารถในการผลิตด้วยวิธีการวัดผลทางด้านคุณภาพและปริมาณ ซึ่งวิธีการและแนวทางการประยุกต์ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและผลกำไรให้กับองค์กรด้วยวิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์นี้ ท่านสามารถหาคำตอบได้ในหลักสูตรการอบรมครั้งนี้ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้อบรมทราบถึงมุมมองโดยรวมของวิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์ 2. เพื่อให้ผู้อบรมได้รับความรู้แนวทางในการออกแบบเพื่อการประกอบ (DFA) 3. เพื่อให้ผู้อบรมได้รับความรู้แนวทางในการออกแบบเพื่อการผลิต (DFM) 4. เพื่อให้ผู้อบรมได้นำความรู้ที่ได้เรียนไปปรับใช้ในการทำงานภายในทีมออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5. เพื่อให้ผู้อบรมได้รับได้มีการฝึกปฏิบัติในการออกแบบเพื่อการประกอบและการผลิต หัวข้อวิชาการอบรม 1. เรียนรู้ประวัติและมุมมองโดยรวมของวิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์ 2. วัตถุประสงค์ของวิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์ 3. ประโยชน์ของวิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์ 4. พื้นฐานการออกแบบเพื่อการประกอบ 5. อิทธิพลของการออกแบบกับความสามารถในการประกอบ 6. ระเบียบวิธี DFA 7. เครื่องมือในการออกแบบเพื่อการประกอบ […]

Read more

การบำรุงรักษาเครื่องจักรกลด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)

หลักการและเหตุผล ปัญหาชิ้นงานไม่ได้คุณภาพ การส่งสินค้าไม่ทัน การหยุดเครื่องจักรกระทันหัน มีสาเหตุหลักมาจาก เครื่องจักรชำรุด เสียหาย หรือไม่ได้มาตรฐาน เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ และเข้าใจในการใช้ และบำรุงรักษาได้อย่างถูกวิธี เพื่อให้เครื่องจักรเหล่านั้นสามารถที่จะใช้งานได้อย่างคุ้มค่า และป้องกันปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นตามมา วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อการบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกัน 2. เพื่อสร้างความตระหนักในการบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกันอย่างเป็นระบบ 3. เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงผลกระทบ และประโยชน์ที่ได้จากการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน 4. เพื่อให้ผู้เรียนได้นำความรู้ไปปรับปรุง และพัฒนาการบำรุงรักษาเครื่องจักรให้ได้มาตรฐานสูงขึ้น 5. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปฏิบัติงานปัจจุบัน ให้สอดคล้องกับการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน 6. เพื่อสร้างแผนงานในการบำรุงรักษาเครื่องจักร เชิงป้องกัน 7. เพื่อลดเวลาการหยุดของเครื่องจักรนอกแผน (Machine Breakdown) หัวข้อการบรรยาย 1. ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบำรุงรักษาเครื่องจักร 2. การดูแลรักษาเครื่องจักร โดยผู้ปฏิบัติงาน 3. การสร้างความตระหนัก และจิตสำนึกในการบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกัน 4. ผลกระทบจากการบำรุงรักษาเครื่องจักรที่ไม่ดี 5. ประโยชน์ที่ได้จากการบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกันที่ดี 6. การปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ดีในการบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกัน 7. การสร้างมาตรฐานในการบำรุงรักษาเครื่องจักร 8. การสร้างแผนงานเพื่อลดเวลาการหยุดนอกแผน […]

Tags: , ,

Read more

Top