Productivity
May 30, 2012 | by admin | In-house Training, Production, Productivity, Uncategorized
หลักการ และเหตุผล หนึ่งในปัจจัยที่สร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ที่ไมเคิล อี พอร์ทเตอร์ (Michael E. Porter) ได้กล่าวไว้คือ การเป็นผู้นำด้านต้นทุนการผลิต หรือ ต้นทุนการปฏิบัติงาน (Cost Leadership) เพราะคุณภาพของสินค้าของบริษัทแต่ละแห่งนั้นมีความใกล้เคียงกัน ดังนั้นถ้าหากเราสามารถทำให้ต้นทุนต่ำกว่าคู่แข่งขัน โดยการลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น หรือลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานแล้วละก็จะเป็นวิถีทางแห่งความสำเร็จ และเป็นการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กร ด้วยเหตุนี้ทุกบริษัทจึงให้ความสำคัญกับการลดต้นทุน เพราะเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดที่จะช่วยในการสร้างกำไร เพราะถึงแม้เรามีรายได้ไม่สูง แต่ถ้าต้นทุนต่ำ ก็สามารถทำให้เกิดกำไรได้ด้วยเช่นกัน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างความตระหนักในด้านการลดต้นทุนการผลิต 2. เพื่อสร้างความเข้าใจ ในการลดต้นทุนที่ถูกต้อง 3. เพื่อสร้างมาตรฐานในการปฏิบัติงาน อันส่งผลต่อการลดต้นทุน หัวข้อการบรรยาย 1. ภาพรวมของการปฏิบัติงาน 2. การสร้างความตระหนักในการลดต้นทุน 3. การวิเคราะห์งาน ค้นหาจุดบกพร่อง และลดต้นทุน 4. ความสูญเปล่าจากการแก้ไขงาน 5. ความสูญเปล่าจากกระบวนการที่ขาดประสิทธิภาพ 6. ความสูญเปล่าจากการมีสินค้าคงคลังมากเกินไป 7. ความสูญเปล่าจากการรอคอย 8. ความสูญเปล่าจากการขนส่ง 9. ความสูญเปล่าจากการเคลื่อนไหว […]
Tags: production, productivity, การผลิต, ลดต้นทุน
Read more
May 29, 2012 | by admin | In-house Training, Production, Productivity, Uncategorized
หลักการและเหตุผล ปัญหาชิ้นงานชำรุดเสียหาย (Defect) ต้องแก้ไขงาน (Rework) หรือไม่ได้คุณภาพ (Defect) เครื่องจักรชำรุด (Machine Breakdown) การส่งงานไม่ตรงเวลา (Delay) ลูกค้าส่งสินค้าคืน หรือ ร้องเรียน (Customer Return or Complain) การไม่บรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งเอาไว้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกหน่วยงาน ปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction) และความมั่นคงของบริษัท จากการวิเคราะห์พบว่า การขาดจิตสำนึกคุณภาพ (Quality Awareness) ในการปฏิบัติงาน เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาดังกล่าว ในปัจจุบันหลายหน่วยงานได้ให้ความสำคัญกับการสร้างจิตสำนึกคุณภาพ ให้เกิดขึ้นกับพนักงานทุกคนในหน่วยงาน โดยถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญลำดับต้นของหน่วยงานทีเดียว ขั้นตอนการสร้างจิตสำนึกคุณภาพ ภาคปฏิบัติ เริ่มจากการประเมินจิตสำนึกคุณภาพ เพื่อทราบระดับของจิตสำนึกของคุณภาพของพนักงาน แล้วให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับคุณภาพในมิติต่างๆ ความคาดหวัง 3 ประการ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม นอกจากนี้ควรนำเครื่องมือ หรือกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้เกิดความต่อเนื่อง จนพนักงานมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ มีทัศนคติที่ดีในการสร้าง และรักษาคุณภาพ และรักในงานที่ตนปฏิบัติ “การสร้างจิตสำนึกคุณภาพ ภาคปฏิบัติ จึงเป็นแนวทางใหม่ในการบริหารงาน ซึ่งจะพัฒนาวิธีการปฏิบัติงาน […]
Tags: production, productivity, การผลิต, จิตสำนึกคุณภาพ, เพิ่มผลผลิต
Read more