Call us: 02-3282110 | E-mail: training@trainerinthai.com

การผลิต

การเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)

หลักการ และเหตุผล การดำเนินกลุ่มกิจกรรมที่ล้มเหลว ส่งผลทำให้การปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพล้าช้า หรือหยุดชะงัก ซึ่งมีสาเหตุด้วยกันหลายประการเช่น การขาดความรู้ หรือไม่เข้าใจในการดำเนินกิจกรรมของสมาชิกในทีม การขาดความรู้ในการเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม และอาจรวมไปถึงการขาดการสนับสนุนจากหัวหน้า หรือผู้ที่เกี่ยวช้อง ด้วยเหตุผลนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกหน่วยงานต้องจัดผู้ที่มีความรู้ ความสามารถเพื่อเข้าไปให้คำปรึกษากับกลุ่มกิจกรรมคิวซีซี เพื่อให้คำที่ปรึกษา และสนับสนุนในด้านต่างๆ เพื่อให้การดำเนินกลุ่มกิจกรรมคิวซีซี บรรลุผลสำเร็จตามที่ได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้ วัตถุประสงค์ • เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจการดำเนินกลุ่มกิจกรรมคิวซีซีที่ถูกต้อง • เพื่อให้ผู้เรียนสามารถให้คำปรึกษากับกลุ่มคิวซีซี ได้อย่างมีประสิทธิภาพ • เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ในการประยุกต์ใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินกลุ่มกิจกรรมคิวซีซี หัวข้อการบรรยาย • ภาพรวมของการดำเนินกิจกรรมกลุ่มคิวซีซี • สาเหตุ แห่งความล้มเหลว ในการดำเนินกลุ่มกิจกรรมคิวซีซี • การแก้ไขปัญหาด้วย QC Story ยุคใหม่ (Theme Achievement) • การประยุกต์ใช้เครื่องมือในการดำเนินกลุ่มกิจกรรมคิวซีซี เช่น 5G Why Why and Root Cause Analysis 7QC Tolls และ […]

Tags: , , , , , ,

Read more

การลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Cost Reduction)

หลักการ และเหตุผล หนึ่งในปัจจัยที่สร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ที่ไมเคิล อี พอร์ทเตอร์ (Michael E. Porter) ได้กล่าวไว้คือ การเป็นผู้นำด้านต้นทุนการผลิต หรือ ต้นทุนการปฏิบัติงาน (Cost Leadership) เพราะคุณภาพของสินค้าของบริษัทแต่ละแห่งนั้นมีความใกล้เคียงกัน ดังนั้นถ้าหากเราสามารถทำให้ต้นทุนต่ำกว่าคู่แข่งขัน โดยการลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น หรือลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานแล้วละก็จะเป็นวิถีทางแห่งความสำเร็จ และเป็นการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กร ด้วยเหตุนี้ทุกบริษัทจึงให้ความสำคัญกับการลดต้นทุน เพราะเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดที่จะช่วยในการสร้างกำไร เพราะถึงแม้เรามีรายได้ไม่สูง แต่ถ้าต้นทุนต่ำ ก็สามารถทำให้เกิดกำไรได้ด้วยเช่นกัน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างความตระหนักในด้านการลดต้นทุนการผลิต 2. เพื่อสร้างความเข้าใจ ในการลดต้นทุนที่ถูกต้อง 3. เพื่อสร้างมาตรฐานในการปฏิบัติงาน อันส่งผลต่อการลดต้นทุน หัวข้อการบรรยาย 1. ภาพรวมของการปฏิบัติงาน 2. การสร้างความตระหนักในการลดต้นทุน 3. การวิเคราะห์งาน ค้นหาจุดบกพร่อง และลดต้นทุน 4. ความสูญเปล่าจากการแก้ไขงาน 5. ความสูญเปล่าจากกระบวนการที่ขาดประสิทธิภาพ 6. ความสูญเปล่าจากการมีสินค้าคงคลังมากเกินไป 7. ความสูญเปล่าจากการรอคอย 8. ความสูญเปล่าจากการขนส่ง 9. ความสูญเปล่าจากการเคลื่อนไหว […]

Tags: , , ,

Read more

การควบคุมด้วยสายตา (Visual Control Application)

หลักการ และเหตุผล การควบคุมด้วยสายตา ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญมากในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และลดความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน โดยถ้าหากเราสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมแล้ว จะช่วยสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างแน่นอน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมด้วยสายตา (Visual Control) 2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์กระบวนการ และสร้างการควบคุมด้วยสายตาได้อย่างเหมาะสม 3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำแนวคิด หลักการ และความรู้ ไปประยุกต์ใช้ดังต่อไปนี้ – การสื่อสาร Visual Control for Communication – ลดความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน Visual Control for Foolproof – การควบคุมคุณภาพ Visual Control for Quality Control – การควคุมกระบวนการ Visual Control for Process Control – การควบคุมเครื่องจักร Visual Control for Machines – การปรับปรุง […]

Tags: , , ,

Read more

การสร้างจิตสำนึกคุณภาพ ภาคปฏิบัติ (Quality Awareness Building Workshop)

หลักการและเหตุผล ปัญหาชิ้นงานชำรุดเสียหาย (Defect) ต้องแก้ไขงาน (Rework) หรือไม่ได้คุณภาพ (Defect) เครื่องจักรชำรุด (Machine Breakdown) การส่งงานไม่ตรงเวลา (Delay) ลูกค้าส่งสินค้าคืน หรือ ร้องเรียน (Customer Return or Complain) การไม่บรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งเอาไว้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกหน่วยงาน ปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction) และความมั่นคงของบริษัท จากการวิเคราะห์พบว่า การขาดจิตสำนึกคุณภาพ (Quality Awareness) ในการปฏิบัติงาน เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาดังกล่าว ในปัจจุบันหลายหน่วยงานได้ให้ความสำคัญกับการสร้างจิตสำนึกคุณภาพ ให้เกิดขึ้นกับพนักงานทุกคนในหน่วยงาน โดยถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญลำดับต้นของหน่วยงานทีเดียว ขั้นตอนการสร้างจิตสำนึกคุณภาพ ภาคปฏิบัติ เริ่มจากการประเมินจิตสำนึกคุณภาพ เพื่อทราบระดับของจิตสำนึกของคุณภาพของพนักงาน แล้วให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับคุณภาพในมิติต่างๆ ความคาดหวัง 3 ประการ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม นอกจากนี้ควรนำเครื่องมือ หรือกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้เกิดความต่อเนื่อง จนพนักงานมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ มีทัศนคติที่ดีในการสร้าง และรักษาคุณภาพ และรักในงานที่ตนปฏิบัติ “การสร้างจิตสำนึกคุณภาพ ภาคปฏิบัติ จึงเป็นแนวทางใหม่ในการบริหารงาน ซึ่งจะพัฒนาวิธีการปฏิบัติงาน […]

Tags: , , , ,

Read more

Top