การบำรุงรักษาเครื่องจักรกลด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
หลักการและเหตุผล
ปัญหาชิ้นงานไม่ได้คุณภาพ การส่งสินค้าไม่ทัน การหยุดเครื่องจักรกระทันหัน มีสาเหตุหลักมาจาก เครื่องจักรชำรุด เสียหาย หรือไม่ได้มาตรฐาน เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ และเข้าใจในการใช้ และบำรุงรักษาได้อย่างถูกวิธี เพื่อให้เครื่องจักรเหล่านั้นสามารถที่จะใช้งานได้อย่างคุ้มค่า และป้องกันปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นตามมา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อการบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกัน
2. เพื่อสร้างความตระหนักในการบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกันอย่างเป็นระบบ
3. เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงผลกระทบ และประโยชน์ที่ได้จากการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน
4. เพื่อให้ผู้เรียนได้นำความรู้ไปปรับปรุง และพัฒนาการบำรุงรักษาเครื่องจักรให้ได้มาตรฐานสูงขึ้น
5. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปฏิบัติงานปัจจุบัน ให้สอดคล้องกับการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน
6. เพื่อสร้างแผนงานในการบำรุงรักษาเครื่องจักร เชิงป้องกัน
7. เพื่อลดเวลาการหยุดของเครื่องจักรนอกแผน (Machine Breakdown)
หัวข้อการบรรยาย
1. ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบำรุงรักษาเครื่องจักร
2. การดูแลรักษาเครื่องจักร โดยผู้ปฏิบัติงาน
3. การสร้างความตระหนัก และจิตสำนึกในการบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกัน
4. ผลกระทบจากการบำรุงรักษาเครื่องจักรที่ไม่ดี
5. ประโยชน์ที่ได้จากการบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกันที่ดี
6. การปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ดีในการบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกัน
7. การสร้างมาตรฐานในการบำรุงรักษาเครื่องจักร
8. การสร้างแผนงานเพื่อลดเวลาการหยุดนอกแผน (Machine Breakdown) และการบำรุงรักษาเครื่องจักร
จุดเด่นของหลักสูตร
บรรยายโดยวิทยากร ประสบการณ์โรงงานอุตสาหกรรมมากกว่า 13 ปี และวิทยากรของสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
เน้นการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม ประกอบการบรรยาย และเน้นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างการบรรยาย
ผู้เรียนได้นำปัญหาจากการปฏิบัติงานจริงมาใช้ประกอบในการฝึกอบรม ทำให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่ายขึ้น
วิทยากร และผู้เรียนได้ร่วมในการจัดทำแผนงาน (Action Plan) เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินโครงการบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกันสอดคล้องกับบริษัท จึงสามารถนำไปใช้ได้ทันทีหลังเรียนจบ
กลุ่มผู้เข้าเรียนในหลักสูตรนี้
ผู้จัดการ หัวหน้างานทุกระดับ ในฝ่ายผลิต ซ่อมบำรุง และวิศวกรรม และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษา และการปฎิบัติงานเกี่ยวข้องกับเครื่องจักร
ลักษณะการบรรยาย
บรรยาย ประกอบการทดลองปฏิบัติจริง และกิจกรรมกลุ่ม (Workshop)
ผู้เรียนมีความเข้าใจ และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ทันทีหลังจบการบรรยาย