Call us: 02-3282110 | E-mail: training@trainerinthai.com

Production

การจัดการระบบการบริหารคุณภาพ ISO/TS 16949 ให้มีประสิทธิภาพ

หลักการและเหตุผล หลักสูตรการฝึกอบรมนี้มุ่งเน้นให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเข้าใจได้ถึงขั้นตอนในการประยุกต์ใช้มาตรฐาน ISO/TS 16949:2002 ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับองค์กรและปรับปรุงระบบให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับมาตรฐานฉบับใหม่ ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมจะได้ทราบถึง มาตรฐานฉบับใหม่นี้จะมีความคล้ายคลึงกับ ISO 9000:2000 มากหรือไม่ หรือคล้ายกับ QS 9000 ผลกระทบอย่างไรกับอุตสาหกรรมยานยนต์ หลักการและวิธีการในการปรับระบบจากมาตรฐาน QS/ISO 9000:1994 เป็นมาตรฐาน ISO/TS 16949:2002 ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีแนวทางที่ชัดเจน และมีความรู้และเข้าใจกระบวนการหลักในบริษัท และสามารถกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการบริหารอย่างไรที่ให้สอดคล้องกับข้อกำหนด ISO/TS 16949:2002 และข้อกำหนดของลูกค้า วัตถุประสงค์ • เพื่อให้ทราบถึงข้อกำหนดต่างๆของ ISO/TS 16949:2002 และการนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง • เพื่อให้ทราบถึงความแตกต่างระหว่าง ISO/TS 16949:2002 กับ ISO/QS-9000 • เพื่อให้ทราบถึงแนวโน้มระหว่าง ISO/TS 16949:2002 ในอนาคต • เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการตรวจรับรอง และการ Upgrade ระบบคุณภาพ ผลที่ได้รับ 1. รับทราบและเข้าใจในรายละเอียดของข้อกำหนด ISO/TS 16949 :2002 […]

Read more

การตรวจระบบจัดการสิ่งแวดล้อมมาตรฐานสากล ISO14001:2004

หลักการและเหตุผล ผู้ตรวจระบบจัดการภายในองค์กร ที่มีความสามารถบนพื้นฐานของความเข้าใจเจตจำนงของมาตรฐานการจัดการสากลนั้น เป็นบุคคลสำคัญกลุ่มหนึ่ง ในการผลักดัน สนับสนุน ส่งเสริม กลไกการจัดทำ การปฏิบัติ การคงรักษาไว้ และ การปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ของระบบจัดการที่มีภายในองค์กร ดังนั้น การอบรมหรือการดำเนินการใดๆ ที่สามารถทำให้ผู้ตรวจ มีความสามารถบนพื้นฐานของความเข้าใจในสาระสำคัญ ของมาตรฐาน รวมถึงการเข้าใจในมิติของการปฏิบัติจริง และประเด็นสำคัญสูงสุด คือ การสามารถตรวจสอบ ประเมิน และทวนสอบข้อเท็จจริง ของระบบการจัดการได้อย่างมีประสิทธิผลบรรลุได้ตามวัตถุประสงค์ของการตรวจในรูปแบบฝึกปฏิบัติจริง มีทัศนคติและจิตวิทยาที่ดีในการตรวจ ทราบและเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของผู้ตรวจ ผู้ถูกตรวจ หรือ ผู้เกี่ยวข้อง อื่นๆ พร้อมด้วยจิตวิทยาพื้นฐาน และ กัลยาณมิตรธรรมในการตรวจ ย่อมจะนำมาซึ่งประสิทธิภาพในการตรวจประเมินระบบจัดการให้บรรลุประสิทธิตามเจตนารมย์ของมาตรฐานสากล อันจะส่งผลดีต่อองค์กรในการทราบข้อเท็จจริงแล้วสามารถนำไปสู่การปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอสืบต่อไป วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อสร้างและเพิ่มพูนความเข้าใจในประเด็นต่างๆ ตามข้อกำหนดของระบบจัดการ สิ่งแวดล้อม ในมุมมองการปฏิบัติให้สอดคล้องตามมาตรฐาน แล้วสามารถตรวจประเมินใน มิติเชิงความสอดคล้อง( Compliance audit – dimension) และ มิติเชิงสมรรถนะ ( performance audit – […]

Read more

ความรู้พื้นฐานด้าน “HACCP”

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้รู้หลักการของระบบ HACCP 2. เพื่อให้รู้การวิเคราะห์กำหนดมาตรฐานการควบคุมและกำหนดจุดวิกฤต 3. เพื่อให้สามารถจัดทำคู่มือ HACCP สำหรับแต่ละผลิตภัณฑ์อาหารได้ 4. เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ HACCP ที่จัดทำอยู่ในองค์กร 5. เพื่อให้โรงงานผลิตอาหารที่มีระบบ HACCP ใช้อยู่ได้ตระหนักถึงความสำเร็จในการพัฒนาเพื่อรักษาระบบ HACCP อย่างมีประสิทธิภาพ หัวข้อในการฝึกอบรม 1. ระบบ HACCP และหลักการเบื้องต้น • ความหมายของระบบ HACCP • ประวัติความเป็นมาของระบบ HACCP • กฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง • ประโยชน์ของระบบ HACCP 2. การดำเนินการระบบ HACCP • ขั้นตอนการจัดทำระบบ HACCP • การนำระบบ HACCP ไปประยุกต์ใช้ วิธีการฝึกอบรม บรรยาย , กรณีศึกษา, แบบฝึกหัด, VDO จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม ประมาณ 20 […]

Tags:

Read more

การจัดการการผลิตและปฏิบัติการ (Operation Management)

หลักการ และเหตุผล การจัดการการผลิต และการปฏิบัติการ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจ ทั้งในภาคการผลิต และการบริการ จากการแข่งขันเพื่อความอยู่รอด และการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ทำให้ทุกหน่วยงานต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด โดยการนำเอาเครื่องมือต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ เช่น การใช้การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information System) การผลิต (Production) การตลาด (Marketing) การจัดการปฏิบัติการ (Operation System) และศาสตร์ด้านอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) มาช่วยในการควบคุมการปฏิบัติงาน เพื่อทำให้เกิดประสิทธิผล (Efficiency) และประสิทธิภาพสูงสุด (Effectiveness) วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการการผลิต และการปฏิบัติการ (Operation Management) 2. เพื่อให้แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการในภาคอุตสาหกรรมการผลิต 3. เพื่อทำให้ผู้เรียนสามารถเห็นภาพรวมของการผลิตทั้งหมด 4. เพื่อทำให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม หัวข้อการบรรยาย 1. การจัดการการผลิต และการเพิ่มผลผลิต (Production and Productivity) 2. […]

Tags: , ,

Read more

การดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ (Effective QCC. Activity)

หลักการ และเหตุผล QC Story เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาการปฏิบติงานอย่างเป็นระบบ วงล้อของเดมิ่ง Deming Circle ซึ่งประกอบด้วย PDAC Plan Do Check และ Action หน่วยงานใดสามารถนำระบบ QC Story ไปใช้ได้อย่างจริงจัง จะพบการเปลี่ยนแปลงขในการปฏิบัติงานไปในทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน เช่น ลดต้นทุนการผลิต ลดปัญหาความเสียหาย ลดความสูญเปล่าจากการแก้ไข การรอคอยงาน การขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เป็นต้น วัตถุประสงค์ 1. เพื่ออสร้างแนวคิดในการดำเนินกิจกรรม QCC อย่างเป็นระบบ 2. เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกัน และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ 3. เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนาหน่วยงาน และบริษัท หัวข้อการบรรยาย 1. แนวคิด และหลักการของการแก้ไขปัญหาแบบ QC Story 2. การดำเนินกิจกรรม QC อย่างเป็นระบบ 3. ปัญหา และอุปสรรค์ ของการดำเนินกิจกรรม QC […]

Tags: , , , , , ,

Read more

การเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)

หลักการ และเหตุผล การดำเนินกลุ่มกิจกรรมที่ล้มเหลว ส่งผลทำให้การปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพล้าช้า หรือหยุดชะงัก ซึ่งมีสาเหตุด้วยกันหลายประการเช่น การขาดความรู้ หรือไม่เข้าใจในการดำเนินกิจกรรมของสมาชิกในทีม การขาดความรู้ในการเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม และอาจรวมไปถึงการขาดการสนับสนุนจากหัวหน้า หรือผู้ที่เกี่ยวช้อง ด้วยเหตุผลนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกหน่วยงานต้องจัดผู้ที่มีความรู้ ความสามารถเพื่อเข้าไปให้คำปรึกษากับกลุ่มกิจกรรมคิวซีซี เพื่อให้คำที่ปรึกษา และสนับสนุนในด้านต่างๆ เพื่อให้การดำเนินกลุ่มกิจกรรมคิวซีซี บรรลุผลสำเร็จตามที่ได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้ วัตถุประสงค์ • เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจการดำเนินกลุ่มกิจกรรมคิวซีซีที่ถูกต้อง • เพื่อให้ผู้เรียนสามารถให้คำปรึกษากับกลุ่มคิวซีซี ได้อย่างมีประสิทธิภาพ • เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ในการประยุกต์ใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินกลุ่มกิจกรรมคิวซีซี หัวข้อการบรรยาย • ภาพรวมของการดำเนินกิจกรรมกลุ่มคิวซีซี • สาเหตุ แห่งความล้มเหลว ในการดำเนินกลุ่มกิจกรรมคิวซีซี • การแก้ไขปัญหาด้วย QC Story ยุคใหม่ (Theme Achievement) • การประยุกต์ใช้เครื่องมือในการดำเนินกลุ่มกิจกรรมคิวซีซี เช่น 5G Why Why and Root Cause Analysis 7QC Tolls และ […]

Tags: , , , , , ,

Read more

การลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Cost Reduction)

หลักการ และเหตุผล หนึ่งในปัจจัยที่สร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ที่ไมเคิล อี พอร์ทเตอร์ (Michael E. Porter) ได้กล่าวไว้คือ การเป็นผู้นำด้านต้นทุนการผลิต หรือ ต้นทุนการปฏิบัติงาน (Cost Leadership) เพราะคุณภาพของสินค้าของบริษัทแต่ละแห่งนั้นมีความใกล้เคียงกัน ดังนั้นถ้าหากเราสามารถทำให้ต้นทุนต่ำกว่าคู่แข่งขัน โดยการลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น หรือลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานแล้วละก็จะเป็นวิถีทางแห่งความสำเร็จ และเป็นการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กร ด้วยเหตุนี้ทุกบริษัทจึงให้ความสำคัญกับการลดต้นทุน เพราะเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดที่จะช่วยในการสร้างกำไร เพราะถึงแม้เรามีรายได้ไม่สูง แต่ถ้าต้นทุนต่ำ ก็สามารถทำให้เกิดกำไรได้ด้วยเช่นกัน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างความตระหนักในด้านการลดต้นทุนการผลิต 2. เพื่อสร้างความเข้าใจ ในการลดต้นทุนที่ถูกต้อง 3. เพื่อสร้างมาตรฐานในการปฏิบัติงาน อันส่งผลต่อการลดต้นทุน หัวข้อการบรรยาย 1. ภาพรวมของการปฏิบัติงาน 2. การสร้างความตระหนักในการลดต้นทุน 3. การวิเคราะห์งาน ค้นหาจุดบกพร่อง และลดต้นทุน 4. ความสูญเปล่าจากการแก้ไขงาน 5. ความสูญเปล่าจากกระบวนการที่ขาดประสิทธิภาพ 6. ความสูญเปล่าจากการมีสินค้าคงคลังมากเกินไป 7. ความสูญเปล่าจากการรอคอย 8. ความสูญเปล่าจากการขนส่ง 9. ความสูญเปล่าจากการเคลื่อนไหว […]

Tags: , , ,

Read more

การควบคุมด้วยสายตา (Visual Control Application)

หลักการ และเหตุผล การควบคุมด้วยสายตา ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญมากในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และลดความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน โดยถ้าหากเราสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมแล้ว จะช่วยสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างแน่นอน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมด้วยสายตา (Visual Control) 2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์กระบวนการ และสร้างการควบคุมด้วยสายตาได้อย่างเหมาะสม 3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำแนวคิด หลักการ และความรู้ ไปประยุกต์ใช้ดังต่อไปนี้ – การสื่อสาร Visual Control for Communication – ลดความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน Visual Control for Foolproof – การควบคุมคุณภาพ Visual Control for Quality Control – การควคุมกระบวนการ Visual Control for Process Control – การควบคุมเครื่องจักร Visual Control for Machines – การปรับปรุง […]

Tags: , , ,

Read more

การสร้างจิตสำนึกคุณภาพ ภาคปฏิบัติ (Quality Awareness Building Workshop)

หลักการและเหตุผล ปัญหาชิ้นงานชำรุดเสียหาย (Defect) ต้องแก้ไขงาน (Rework) หรือไม่ได้คุณภาพ (Defect) เครื่องจักรชำรุด (Machine Breakdown) การส่งงานไม่ตรงเวลา (Delay) ลูกค้าส่งสินค้าคืน หรือ ร้องเรียน (Customer Return or Complain) การไม่บรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งเอาไว้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกหน่วยงาน ปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction) และความมั่นคงของบริษัท จากการวิเคราะห์พบว่า การขาดจิตสำนึกคุณภาพ (Quality Awareness) ในการปฏิบัติงาน เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาดังกล่าว ในปัจจุบันหลายหน่วยงานได้ให้ความสำคัญกับการสร้างจิตสำนึกคุณภาพ ให้เกิดขึ้นกับพนักงานทุกคนในหน่วยงาน โดยถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญลำดับต้นของหน่วยงานทีเดียว ขั้นตอนการสร้างจิตสำนึกคุณภาพ ภาคปฏิบัติ เริ่มจากการประเมินจิตสำนึกคุณภาพ เพื่อทราบระดับของจิตสำนึกของคุณภาพของพนักงาน แล้วให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับคุณภาพในมิติต่างๆ ความคาดหวัง 3 ประการ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม นอกจากนี้ควรนำเครื่องมือ หรือกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้เกิดความต่อเนื่อง จนพนักงานมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ มีทัศนคติที่ดีในการสร้าง และรักษาคุณภาพ และรักในงานที่ตนปฏิบัติ “การสร้างจิตสำนึกคุณภาพ ภาคปฏิบัติ จึงเป็นแนวทางใหม่ในการบริหารงาน ซึ่งจะพัฒนาวิธีการปฏิบัติงาน […]

Tags: , , , ,

Read more

Top